“มุ่งสู่อินเตอร์ไฮ” น่าจะเป็นคำที่แฟนมังงะฟุตบอลบ้านเราคุ้นเคยมาอย่างยาวนานพอๆ กับ “มุ่งสู่โคชิเอ็ง”
เพราะไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนเรื่องไหน ทีมโรงเรียนของตัวเอก มักจะมีสิ่งนี้เป็นเป้าหมายอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี ในช่วงหลัง “ศึกฟุตบอลชิงแชมป์ฤดูหนาว” ก็เริ่มถูกพูดถึงบ่อยขึ้นตามหน้าสื่อ ในฐานะการแข่งขันที่ผลิตนักเตะทีมชาติญี่ปุ่น มาประดับวงการอย่างต่อเนื่องถ้าอย่างนั้น การแข่งขันทั้งสองทัวร์นาเมนต์นี้ต่างกันอย่างไร และอะไรคือที่สุด? ร่วมหาคำตอบไปพร้อม ศึกชิงแชมป์แห่งชาติ ปฏิเสธไม่ได้ว่า “อินเตอร์ไฮ” น่าจะเป็นคำที่คุ้นเคยกับชาวไทย
โดยเฉพาะคอการ์ตูน เมื่อมันมักจะปรากฏอยู่ในมังงะหรืออนิเมะเกี่ยวกับกีฬาส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นในเรื่อง ชู้ต ที่การคว้าแชมป์ฟุตบอลอินเตอร์ไฮ คือเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของเหล่าสมาชิกทีม คาเคงาวะ แต่ที่จริง อินเตอร์ไฮ ไม่ได้หมายถึงการแข่งขันฟุตบอลเพียงอย่างเดียว เพราะมันคือชื่อเรียกการ แข่งขันกีฬามัธยมปลายชิงแชมป์แห่งชาติ ที่มักจัดขึ้นในเดือนสิงหาคมหรือช่วงฤดูร้อนของญี่ปุ่นเป็นประจำทุกปี โดยคำว่าอินเตอร์ไฮมาจาก บ้านผลบอล
Inter-High School Championships ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการย่อเลียนแบบคำว่า Intercollegiate Championship หรือการแข่งขันกีฬาอุดมศึกษาของอเมริกา แต่เป็นการใช้ภาษาอังกฤษแบบญี่ปุ่น จึงไม่มีการใช้คำนี้ในภาษาอังกฤษ ทัวร์นาเมนต์นี้ สหพันธ์กีฬาโรงเรียนมัธยมแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จึงเป็นการแข่งขันที่รวมทุกชนิดกีฬาและกรีฑาไว้ด้วยกัน ทำให้นอกจากฟุตบอลแล้ว ยังมีกีฬาประเภททีมอย่าง บาสเกตบอล วอลเลย์บอล
แฮนด์บอล กีฬาประเภทเดี่ยวอย่าง มวย ยกน้ำหนัก ยูโด และซูโม่ ไปจนถึงกีฬาที่ไม่คุ้นหูอย่าง นางินาตะ (ศิลปะป้องกันตัว) อย่างไรก็ดี เนื่องจากสมาคมเบสบอลมัธยมปลายญี่ปุ่น ถือสิทธิ์ในการจัดการแข่งขันเบสบอล จึงทำให้กีฬานี้ไม่มีในอินเตอร์ไฮ แต่จะมีทัวร์นาเมนต์แยกออกมาในชื่อ เบสบอลมัธยมปลายชิงแชมป์แห่งชาติฤดูใบไม้ผลิ (เซมบัตสึ) และ เบสบอลมัธยมปลายชิงแชมป์แห่งชาติฤดูร้อน (โคชิเอ็ง) แทน กลับมาที่ ฟุตบอลอินเตอร์ไฮ สำหรับทีมที่มีสิทธิ์
เข้าร่วมการแข่งขัน จะต้องเป็นทีมโรงเรียนมัธยมปลายเท่านั้น (ทีมเยาวชนของสโมสรอาชีพหมดสิทธิ์) และต้องลงเล่นในรอบคัดเลือกตั้งแต่ระดับเขต และคว้าแชมป์ระดับจังหวัด ทำให้แต่ละปีจะมีทีมเข้าร่วมเพียงแค่ 55 ทีมเท่านั้น (บางเมืองใหญ่อย่าง ฮอกไกโด โตเกียว หรือ โอซากา จะได้โควต้าจังหวัดละ 2 ทีม) ในขณะที่ศึกชิงแชมป์ฤดูหนาว หรือชื่อเต็มว่า ฟุตบอลมัธยมปลายชิงแชมป์แห่งชาติ จะเป็นการแข่งขันเฉพาะฟุตบอลเพียงอย่างเดียว โดยจะฟาดแข้งกันในช่วง
ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ของทุกปี โดยทีมที่มีสิทธิ์เข้าร่วมก็คล้ายกับฟุตบอลอินเตอร์ไฮ ที่ต้องเป็นทีมโรงเรียนมัธยมปลาย และลงคัดเลือกตั้งแต่ระดับเขต เพื่อคว้าแชมป์จังหวัด เพียงแต่จำนวนทีมจะที่น้อยกว่าคือแค่เพียง 48 ทีมในรอบสุดท้ายเท่านั้น (โตเกียวเป็นจังหวัดเดียวที่ได้โควต้า 2 ทีม) ทั้งนี้ ทั้งสองทัวร์นาเมนต์เป็นการแข่งขันชิงแชมป์เพื่อหาทีมโรงเรียนที่เก่งที่สุดในแต่ละปี และเป็น 2 ใน 3 ของการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ร่วมกับถ้วย
JFA U18 เจ้าชายทาคามาโดะ (ซึ่งรายการนี้ทีมเยาวชนสโมสรอาชีพเข้าร่วมได้) อย่างไรก็ดี สำหรับคนญี่ปุ่น รายการไหนยิ่งใหญ่กว่ากัน? ชื่อชั้นต่างกัน แม้ว่าจะเป็นทัวร์นาเมนต์ที่เฟ้นหาโรงเรียนที่เป็นเบอร์หนึ่งในด้านฟุตบอลเหมือนกัน แต่ “ศึกชิงแชมป์ฤดูหนาว” กลับเป็นการแข่งขัน ที่มีประวัติศาสตร์ต่อเนื่องยาวนานกว่า เมื่อเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกในปี 1917 หรือกว่า 100 ปีก่อนโดยครั้งแรกจัดขึ้นที่เมืองโอซากา ก่อนที่หลังจากนั้นจะย้ายไปแข่งในเมืองต่างๆ
ทั้งฝั่นคันโต (ตะวันออก) และฝั่งคันไซ (ตะวันตก) รวมไปถึงฮิโรชิมา ทว่าตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 กรุงโตเกียวก็รับหน้าเสื่อเป็นเมืองจัดการแข่งขัน โดยมี สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นสังเวียนนัดชิงชนะเลิศ (และเปลี่ยนมาใช้ ไซตามะ สเตเดียม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติปรับปรุงเพื่อเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2020) ในขณะเดียวกัน การแข่งขันดังกล่าว ยังเป็นทัวร์นาเมนต์ที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วประเทศ มาตั้งแต่สมัยที่ฟุตบอลยังไม่ค่อยได้รับความนิยม และทีมชาติไม่ได้
แข็งแกร่งอย่างทุกวันนี้ เมื่อมันถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการใหญ่ประจำปีในระดับที่เหนือกว่าฟุตบอลลีกกึ่งอาชีพ แถมในปัจจุบัน แม้ว่าญี่ปุ่นมีลีกอาชีพแล้ว แต่ศึกชิงแชมป์ฤดูหนาวก็ยังเป็นการแข่งขัน ที่มีผู้คนติดตามอย่างเหนียวแน่นเป็นประจำทุกปี โดยในนัดชิงชนะเลิศ จะมีผู้ชมกว่า 60,000 คน เข้าไปเป็นสักขีพยาน และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วญี่ปุ่นผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ส่วนฟุตบอลอินเตอร์ไฮ ก็เป็นทัวร์นาเมนต์ที่มีอายุไม่น้อย แต่ยังห่างจากศึกชิงแชมป์
ฤดูหนาวเกือบครึ่ง เพราะเพิ่งเป็นการแข่งขันที่มีขึ้นหลังสงครามโลก หลังเริ่มจัดครั้งแรกในปี 1963 และไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก โดยหลายทีมต่างมองเวทีนี้เป็นลานประลองฝีเท้า ก่อนลงสนามจริงในศึกชิงแชมป์ฤดูหนาว แถมยังจัดขึ้นในช่วงเดียวกับการแข่งขันกีฬาชนิดอื่น ทำให้มันถูกลดทอนความสนใจ เมื่อเทียบกับอีกรายการหนึ่งที่แข่งขันฟุตบอลเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การที่อินเตอร์ไฮ แข่งขันในเดือนสิงหาคม ยังทำให้ความยิ่งใหญ่ของมันน้อยกว่า
ศึกชิงแชมป์ฤดูหนาว เมื่อรายการหลังถือเป็นทัวร์นาเมนต์สุดท้ายในชีวิตนักฟุตบอลมัธยมปลายของพวกปี 3 (ม.6) ที่จะพลาดไม่ได้อีกแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ศึกชิงแชมป์ฤดูหนาว กลายเป็นการแข่งขันฟุตบอลสมัครเล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ในขณะที่สนามกีฬาแห่งชาติกลายเป็น “เวทีแห่งความฝัน” หรือ “สังเวียนศักดิ์สิทธิ์” ในระดับเดียวกับ “โคชิเอ็ง” ในกีฬาเบสบอล อย่างไรก็ดี แม้ว่าศึกชิงแชมป์ฤดูหนาว จะถือเป็นรายการที่ได้รับความสนใจมากกว่า แต่ทั้งสอง
ทัวร์นาเมนต์ ก็เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยมีจุดประสงต์เพื่อพัฒนานักฟุตบอลสู่วงการฟุตบอลอาชีพ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับทีมชาติ ด้วยกันทั้งคู่ การมีการแข่งขันถึงสองรายการ (สาม หากรวมถ้วยเจ้าชายทาคามาโดะ) จึงหมายความว่าเหล่านักฟุตบอลเยาวชนของพวกเขา จะมีเกมลงเล่นที่เหมาะสม
ที่ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นนักกีฬาอาชีพ หรืออาจไปไกลถึงทีมชาติ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นการพัฒนานักกีฬาอย่างเป็นระบบของพวกเขา และเป็นคำตอบที่ว่าทำไมพวกเขาถึงก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าของเอเชีย และท้าทายในระดับโลกได้อย่างทุกวันนี้ UFABETWINS